วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สื่อที่ไม่ใช้เครื่องฉาย

สื่อที่ไม่ใช้เครื่องฉาย

       1. สื่อที่ไม่ต้องใช้เครื่องประกอบ
              1.1 หนังสือพิมพ์ สมุดคู่มือ เอกสารหรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ
                  ข้อดี
                        1. วิธีเรียนที่ดีที่สุดสำหรับบางคน ได้แก่ การอ่าน
                        2. สามารถอ่านได้ตามสมรรถภาพของแต่ละบุคคล
                        3. เหมาะสมสำหรับการอ้างอิงหรือทบทวน
                        4. เหมาะสำหรับการผลิตเพื่อแจกเป็นจำนวนมาก
                   ข้อจำกัด
                        1. ต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง
                        2. บางครั้งข้อมูลล้าสมัยง่าย
                        3. สิ่งพิมพ์ที่จำเป็นต้องอาศัยการผลิตต้นแบบหรือการผลิตที่มีคุณภาพ ซึ่งหาได้ยาก
               1.2 ตัวอย่างของจริง
                   ข้อดี
                        1. แสดงสภาพตามความเป็นจริง
                        2. อยู่ในลักษณะสามมิติ
                        3. สัมผัสได้ด้วยสัมผัสทั้ง 4
                    ข้อจำกัด
                        1. การจัดหาอาจลำบาก
                        2. บางครั้งขนาดใหญ่เกินกว่าจะนำมาแสดงได้
                        3. บางครั้งราคาสูงเกินไป
                        4. ปกติเหมาะสำหรับการแสดงต่อกลุ่มย่อย
                        5. บางครั้งเสียหายง่าย
                        6. เก็บรักษาลำบาก
               1.3 หุ่นจำลอง / เท่า / ขยาย / ของจริง
                    ข้อดี
                         1. อยู่ในลักษณะสามมิติ
                         2. สามารถจับต้องและพิจารณารายละเอียด
                         3. เหมาะสำหรับการแสดงที่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า (เช่น ส่วนกลางหู)
                         4. สามารถใช้แสดงหน้าที่
                         5. ช่วยในการเรียนรู้และการปฏิบัติทักษะชนิดต่าง ๆ
                         6. หุ่นบางอย่างสบายสามารถผลิตได้ด้วยวัสดุในท้องถิ่นที่หาง่าย
                    ข้อจำกัด
                         1. ต้องอาศัยความชำนาญในการผลิต
                         2. ส่วนมากราคาแพง
                         3. ปกติเหมาะสำหรับการแสดงต่อกลุ่มย่อย
                         4. ชำรุดเสียหายง่าย
                         5. ไม่เหมือนของจริงทุกประการบางครั้งทำให้เกิดความเข้าใจผิด
                1.4 กราฟิก / แผนภูมิ / แผนภาพ / แผนผัง / ตาราง
                    ข้อดี
                        1. ช่วยในการชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหา
                        2. ช่วยแสดงลำดับขั้นตอนของเนื้อหา
                        3. ภาพถ่ายมีลักษณะใกล้ความเป็นจริง ซึ่งดีกว่าภาพเขียน
                    ข้อจำกัด
                        1. เหมาะสำหรับกลุ่มเล็ก ๆ
                        2. เพื่อให้งานกราฟิกได้ผลจำเป็นต้องใช้ช่างเทคนิคที่ค่อนข้างมีความชำนาญในการผลิต
                        3. การใช้ภาพบางประเภท เช่น ภาพตัดส่วน (Sectional drawings) หรือการ์ตูน อาจไม่ช่วยให้กลุ่มเป้าหมาย
เกิดความเข้าใจดีขึ้นแต่กลับทำให้งง เพราะไม่สามารถสัมผัสของจริงได้
               1.5 กระดานชอล์ค
                   ข้อดี
                        1. ต้นทุนราคาต่ำ
                        2. สามารถใช้เขียนงานกราฟิกได้หลายชนิด
                        3. ช่วยในการสร้างความเข้าใจตามลำดับเรื่องราวเนื้อหาสามารถนำไปใช้ได้อีก
                   ข้อจำกัด
                        1. ผู้เขียนต้องหันหลังให้กลุ่มเป้าหมาย
                        2. กลุ่มเป้าหมายจำนวนเพียง 50 คน
                        3. ภาพหัวข้อหรือประเด็นคำบรรยายต้องถูกลบ ไม่สามารถนำไปใช้ได้อีก
                        4. ผู้เขียนต้องมีความสามารถในการเขียนกระดานพอสมควรทั้งในการเขียนตัวหนังสือ
               1.6 แผ่นป้ายสำลี / แผ่นป้ายแม่เหล็ก
                   ข้อดี
                        1. สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก
                        2. วัสดุในการผลิตหาได้ง่าย
                        3. เหมาะสำหรับแสดงความเกี่ยวพันของลำดับเนื้อหา เป็นขั้นตอน
                        4. ช่วยดึงดูดความสนใจ
                        5. สามารถให้กลุ่มเป้าหมายร่วมใช้เพื่อสร้างความสนใจและทดสอบความเข้าใจ
                  ข้อจำกัด
                        - เหมาะสำหรับกลุ่มย่อย